ศิลปะในฐานะเครื่องสร้างแรงบันดาลใจและเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในการทำงาน
21 มีนาคม 2561
“ศิลปะดูเหมือนจะอยู่เหนือทุกสถานะของจิตวิญญาณ” เป็นคำกล่าวของศิลปินโมเดิร์นนิสม์ผู้ยิ่งใหญ่อย่าง มาร์ค ชากาล (Marc Chagall)
ศิลปะคือแรงบันดาลใจและอารมณ์ มันไม่เพียงเปลี่ยนพื้นที่ที่มันอยู่อาศัย หากแต่ยังส่งผลถึงผู้คนที่อยู่ร่วมกับมันด้วย มันส่งอิทธิพลต่ออารมณ์และความรับรู้ กระตุ้นจิตใจ หรือแม้แต่ยกระดับจิตวิญญาณของพวกเขา ด้วยเหตุผลเหล่านี้นี่เองที่ทำให้ศิลปะมีที่ทางในพื้นที่ทำงานทุกประเภทในแทบทุกหนแห่ง ในฐานะเครื่องมือสร้างความคิดสร้างสรรค์ และกระตุ้นประสิทธิภาพและการทำงานให้ยิ่งขึ้น
ในปัจจุบัน ผลงานศิลปะ ไม่ได้ประดับอยู่เฉพาะแค่ในห้องทำงานของผู้บริหารเท่านั้น พวกมันเข้าไปอยู่ในพื้นที่ทำงานของพนักงานแต่ละคน รวมถึงพื้นที่รวมที่พนักงานทุกคนใช้สอยกัน เพื่อทำหน้าที่สร้างความสดชื่น กระตุ้นให้เกิดคำถาม และขยายขอบเขตทางความคิด
ด้วยสำนึกเช่นนี้เอง ที่ทำให้ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ACTIU แบรนด์ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ชั้นนำของสเปน พันธมิตรของเรา ได้จัดนิทรรศการศิลปะ FT2 ขึ้นที่โชว์รูม ในลอนดอน ซึ่งเปิดพื้นที่ใหม่ๆ ให้แก่ศิลปะในพื้นที่ทำงาน โดยความช่วยเหลือของ Chrom-Art องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่สนับสนุนศิลปินรุ่นใหม่ๆ และช่วยพวกเขาในการจัดสถานที่แสดงผลงาน โดยร่วมมือกับองค์กรธุรกิจ และนำพาศิลปินผู้เปี่ยมพรสวรรค์เหล่านี้ให้พบกับเหล่าผู้รักศิลปะทั้งหลาย
ดังนั้น ในทุกๆ สามเดือน โชว์รูมของ ACTIU จะแปรสภาพเป็นหอศิลป์ที่เปิดรับผลงานศิลปะใหม่ๆ ในฐานะส่วนหนึ่งของพันธสัญญาในการให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตที่ดีของคนทำงาน การสร้างสรรค์ที่เพิ่มคุณภาพและอารมณ์อันมั่นคง และเปิดประตูสู่ความสนใจทางอารมณ์และการกระตุ้นเร้าทางศิลปะใหม่ๆ
การมองว่าศิลปะเป็นวิธีการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมเพื่อสร้างแรงบันดาลใจและความคิดสร้างสรรค์ เป็นสิ่งที่ระบบ WELL Building Standard ในสหรัฐอเมริกาคำนึงถึงและตระหนักอย่างลึกซึ้งถึงการริเริ่มที่มุ่งพัฒนาสภาพจิตใจ สุขภาพจิต และคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้คนที่อาศัยและทำงานอยู่ในพื้นที่เหล่านั้น
สิ่งเหล่านี้ถูกสร้างอยู่บนพื้นฐานของเทรนด์ใหม่ๆ ของพื้นที่ทำงานที่ถูกกำหนดเอาไว้ในการเป็นโชว์รูมของ ACTIU ไม่ว่าจะเป็น ความมุ่งมั่น, ทีมเวิร์ก, เวลาอันสดชื่น และการฝึกฝน ซึ่งงานศิลปะเป็นเครื่องมือชั้นดีในการเชื่อมโยงคนทำงานเข้ากับสภาพแวดล้อมและพื้นที่ทำงาน
ความมุ่งมั่นและการมีสมาธิจดจ่อ ต้องการความเงียบและเป็นส่วนตัว ดังนั้น งานศิลปะที่ถูกคัดเลือกมาใช้จึงเป็นงานศิลปะแบบนามธรรม ที่ถึงแม้จะดึงดูดความสนใจ แต่ก็ไม่รบกวนสมาธิ ในขณะเดียวกันก็ขยายขอบเขตการรับรู้ของเราไปสู่สิ่งใหม่ๆ
อย่างเช่นในผลงาน Dawn ภาพวาดนามธรรม ของ แอนดี้ ฟินเลย์ (Andy Finlay) ที่เป็นภูมิทัศน์สีขาวของซีเรีย ที่มีส่วนผสมของผงคอนกรีตซึ่งมีปฏิกิริยากับแสงและความเคลื่อนไหวในยามกลางวัน เมื่อแสงตกกระทบภาพวาดมันก็จะเปิดเผยแง่มุมใหม่ๆ ออกมา
หรือผลงาน The proposal ของ เจสัน มัลลอย (Jason Molloy) ที่สร้างขึ้นจากการเผากระดาษลังและไม้ให้กลายเป็นรูปทรงทางจิตวิญญาณที่ได้แรงบันดาลใจจากธรรมชาติ ซึ่งกระตุ้นให้เกิดสมาธิและความสงบนิ่งแก่ผู้ชม
หรือผลงาน Moon Dust โดย ติง-อัน หลิน (Ting-An Lin) ที่เปี่ยมด้วยความงาม ความสมดุลย์ และองค์ประกอบแบบนามธรรมอันเปี่ยมไปด้วยความเป็นกวี
เพราะทีมเวิร์คและการทำงานร่วมกันนั้นหล่อเลี้ยงด้วยการระดมความคิด และการร่วมมือกันของกลุ่มเพื่อเป้าหมายส่วนรวม มันหล่อเลี้ยงโดยความสามารถในการเชื่อมโยง และการแบ่งปัน ในแง่นี้ งานศิลปะรูปธรรมจะส่งผลกว่างานศิลปะนามธรรม โดยมันจะขยายการรับรู้เกี่ยวกับความเป็นจริงของเรา และทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการสนทนาที่สร้างสรรค์และเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในทีม
ตัวอย่างเช่น ผลงาน Twisted Lines ของศิลปินดิจิตอล จาซินโต เคตาโน (Jacinto Caetano) ที่เป็นซีรีส์ภาพลายเส้นกราฟฟิกของสถาปัตยกรรมและอนุสรณ์สถานที่สำคัญในหลายแห่งของโลก ด้วยความที่ภูมิศาสตร์และการท่องเที่ยวเป็นสิ่งที่ช่วยสลายความเย็นชาความห่างเหินในยามที่คนเราได้เจอกันครั้งแรก เข้าไปชมผลงานของเขาได้ที่ http://www.jacintocaetano.com/
หรือผลงาน Crossroads ภาพวาดสีน้ำมันของ ลิดซีย์ พิคเก็ตต์ (Lindsay Pickett) ที่สร้างทัศนียภาพอันบิดผันของสภาพแวดล้อมของเมืองที่คุ้นตา เพื่อสร้างมุมมองใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นมา
ช่วงเวลาอันสดชื่น, โอกาสในการเข้าถึงธรรมชาติ และคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นแนวคิดที่ผูกพันอย่างแนบแน่นกับพื้นที่ทางสังคม ซึ่งในที่นี้ งานศิลปะมีส่วนช่วยอย่างมาก
อาทิเช่น ผลงาน Urban Angel ของ แคโรลิน แฮนส์ ภาพวาดกึ่งนามธรรมสีสันสดใสที่เต็มไปด้วยจังหวะและความเคลื่อนไหว
การฝึกฝนเรียนรู้ และการทำความเข้าใจ เป็นคุณสมบัติอันขาดไม่ได้ในองค์กร มันเป็นสิ่งที่เชื้อเชิญให้เราซึมซับแนวความคิด ตั้งคำถาม และพัฒนาทักษะใหม่ๆ ขึ้นมา
พื้นที่ในโชว์รูมของ ACTIU ในลอนดอน นั้นอุทิศให้กับการเรียนรู้ โดยมีการเลือกผลงานศิลปะของศิลปินที่มีความสมดุลด้านพลังงาน ที่ไม่ล้นเกินจนเกินไป ด้วยผลงานศิลปะแบบนามธรรมที่มีแก่นแกนอยู่บนสีสันขั้นพื้นฐาน
อาทิภาพวาด Pulse ผลงานของ ชิโรมะ รัตเน (Shiroma Ratne) ซึ่งท่วมท้นด้วยอารมณ์ความรู้สึกในแบบของงานศิลปะแอบสแตรกเอ็กซ์เพรสชั่นนิสต์
ดังคำที่ปิกัสโซ่เคยกล่าวเอาไว้ว่า ศิลปะเป็นสิ่งที่ “ชำระล้างคราบไคลในชีวิตประจำวันออกจากจิตวิญญาณของเรา” และคำกล่าวของ โธมัส มอร์ตัน (Thomas Merton) ที่ว่า “ศิลปะเปิดโอกาสให้เราค้นหาและละทิ้งตัวตนของเราไปพร้อมๆ กัน”
ในปัจจุบัน ศิลปะได้กลายเป็นเทรนด์ล่าสุดในสำนักงาน ด้วยความคิดสร้างสรรค์ในเชิงศิลปะ ที่ก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ทั้งสร้างการปฏิสัมพันธ์ และแรงบันดาลใจในพื้นที่ทำงานนั่นเอง
#WURKON #art #inspiration #transformation #workenvironment #officepeople #คนทำงาน #wellbeing #คุณภาพชีวิต #workingenvironment #stimulate #collective #workarea #สภาพแวดล้อมการทำงาน #inspiration #แรงบันดาลใจ
สัมผัสแรงบันดาลใจจากความคิดสร้างสรรค์แห่งการออกแบบวิถีชีวิตการทำงานยุคใหม่ได้ที่ WURKON ผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบพื้นที่สำนักงานและพื้นที่สาธารณะสมัยใหม่ www.wurkon.com
สามารถติดตามข่าวสารทุกวันได้ที่ : www.facebook.com/WURKON
สอบถามข้อมูลได้ที่ Tel : 02-005-3550 Fax : 02-005-2557
Official Line : @wurkon (มี @ ด้วย) / Twitter : @wurkon
Follow Instagram : @wurkon