กำแพงทางวัฒนธรรม อุปสรรคหรือโอกาสทางธุรกิจ?
09 พฤษภาคม 2561
การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่อเนกประสงค์ แต่ในขณะเดียวกันก็มีความเฉพาะเจาะจงพอที่จะตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานและลูกค้าทุกคนนั้น เป็นหนึ่งในความท้าทายอันยากเย็นที่สุดที่หลายๆ บริษัทต้องเผชิญหน้าในการทำงานทุกวี่วัน ลักษณะร่วมอันจำเป็นและเป็นสากลของคนในโลก ทำให้โลกาภิวัตน์กลายเป็นพันธมิตรอันยิ่งใหญ่ของทุกองค์กร สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งคือการรู้วิธีการบริหารจัดการที่ไม่เพียงก้าวข้ามระหว่างพรมแดนความคิด หากแต่ยังต้องออกนอกกรอบความคิดด้วย
อะไรเป็นสิ่งที่ทำให้ผลิตภัณฑ์บางอย่างประสบความสำเร็จในบางแห่ง แต่ไม่เป็นที่รู้จักเลยในที่อื่นๆ ?อะไรคือความต้องการของสังคมแต่ละแห่ง หรืออะไรคือความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมหนึ่งๆ กับวัฒนธรรมอื่นๆ ? นี่เป็นคำถามที่ ACTIU แบรนด์ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ชั้นนำของสเปน พันธมิตรของเรา พยายามทำการวิจัยในงานประชุมสัมนา “The effects of cultural barriers on products” (ผลกระทบของกำแพงทางวัฒนธรรมต่อผลิตภัณฑ์ต่างๆ ) ที่จัดขึ้นโดย Roca แบรนด์ผู้ผลิตสินค้าสุขภัณฑ์ชั้นนำของสเปน ในหอแสดงสินค้า Roca Madrid Gallery ที่กรุงมาดริด และดำเนินงานโดย มานูเอล เอสตราดา (Manuel Estrada) ดีไซเนอร์เจ้าของรางวัล National Design Award ปี 2017 ในโอกาสที่จะสำรวจความคิดเห็นโดยตรงของเหล่าบรรดาบริษัทที่เป็นผู้เชี่ยวชาญและเป็นมืออาชีพในด้านเฟอร์นิเจอร์ดีไซน์, ธุรกิจเกี่ยวกับอาหาร และการโรงแรม ที่มีพื้นเพที่แตกต่างกันอย่างมาก แต่ก็มาร่วมกันแบ่งปันสายสัมพันธ์ในด้านอิทธิพลทางวัฒนธรรมที่มีส่วนในการสร้างสรรค์และบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ของพวกเขา และช่วยแบ่งปันความรู้และการปรับตัวให้เข้ากับลักษณะทางวัฒนธรรมของแต่ละภูมิภาค อันเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการของคนในแต่ละพื้นที่ได้
ตั้งแต่ครั้งที่โลกาภิวัตน์เริ่มต้นขึ้นจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม การวิวัฒนาการของมันก็ยังไม่เคยหยุดยั้ง การแข่งขันอันบ้าคลั่งในการสร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์แบบเดียวกันโดยหลายบริษัทอย่างที่เคยเป็นมา เริ่มที่จะสูญพันธุ์ไปในที่สุด การวางแผนการตลาด มุ่งเป้าไปยังส่วนผสมของทั้งตลาดโลกและตลาดท้องถิ่นไปพร้อมๆ กัน วงการอุตสาหกรรมกำหนดมาตรฐานของคุณภาพผลิตภัณฑ์และงานออกแบบให้ลงมาใกล้ชิดคนจำนวนมากมากขึ้น และลดความเป็นปัจเจกของผลิตภัณฑ์แต่ละช้ิน ให้มันเข้าถึงได้ง่ายและเป็นงานดีไซน์ที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น มันไม่ใช่การผลิตสินค้าตามสั่ง แต่เป็นการผลิตสินค้าที่ปรับตัวเองให้เข้ากับแต่ละวัฒนธรรม, วิถีชีวิต และกิจวัตรในการทำงานของคน ซึ่งเป็นกระบวนการที่ประหยัดเงินและเวลาเป็นอย่างมากอีกด้วย
วัฒนธรรม หมายถึง ชุดความรู้ความเข้าใจ ความเชื่อ และรูปแบบพฤติกรรมของคนในสังคมหนึ่งๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยอันสำคัญที่สุดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใดๆ ก็ตาม
“ไม่ใช่ทุกประเทศที่จะเข้าใจพฤติกรรมทางวัฒนธรรมในแบบเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น วัฒนธรรมเกี่ยวกับสุขอนามัย หรือการใช้ห้องน้ำ ที่มีวิถีปฏิบัติและการใช้งานที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในแต่ละวัฒนธรรมและพื้นที่ต่างๆ” โจเซฟ คองกอสต์ (Josep Congost) ผู้อำนวยการฝ่ายดีไซน์และนวัตกรรมของสุขภัณฑ์ของ Roca กล่าว
“ถึงแม้กำแพงทางวัฒนธรรมจะถูกทำให้อ่อนกำลังลงจากโลกาภิวัตน์ แต่มันก็ยังคงปรากฏอยู่ การที่ผลิตภัณฑ์จะทะลวงมันเข้าไปได้นั้น ต้องอาศัยความเข้าใจทั้งในวัฒนธรรมของประเทศนั้นๆ และกลุ่มเป้าหมายของผลิตภัณฑ์นั้นให้ถ่องแท้เสียก่อน” เอนริเก ชาร์โร เอเรรา (Enrique Charro Herrera) ผู้อำนวยการการตลาดและการสื่อสารของแบรนด์ Taste of America กล่าวเสริม
“มันเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องมองเห็นกำแพงทางวัฒนธรรมเหล่านี้และเปลี่ยนวิกฤติให้กลายเป็นโอกาส ด้วยกระบวนการทางการตลาดที่เคารพวัฒนธรรมและไม่ยัดเยียด หากแต่ปรับตัวให้เข้ากับมัน” รามอน เฟอร์นานเดซ (Ramón Fernández) ผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิคของเครือบูติคและดีไซน์โฮเต็ล ของสเปนอย่าง Room Mate ที่มีสาขาอยู่ทั่วโลกกล่าว
“ถ้าสังคมทุกวันนี้บริโภค, เคลื่อนไหว และเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างแตกต่าง ดังนั้นทำไมเราจึงใช้พื้นที่ทำงานแบบเดิมๆ ? การพัฒนาของโลกาภิวัฒน์ แสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดผ่านพื้นที่ทำงานที่สอดคล้องและลดความเป็นชนชั้นของคนทำงาน เช่นเดียวกับรูปแบบของความสัมพันธ์ทางสังคม” โซลแดด เบอร์บีกัล (Soledad Berbegal) ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์การสื่อสารของ ACTIU กล่าว
สภาพแวดล้อมที่ถูกเปลี่ยนให้เป็น “บ้านที่สอง” ของคนทำงาน ที่ซึ่งการดีไซน์ เป็นเครื่องมืออันสำคัญที่สร้างคุณภาพชีวิตที่ดี, ความร่วมมือ และความไว้วางใจระหว่างวัฒนธรรมอันแตกต่างหลากหลาย แนวคิดเกี่ยวกับ “ความเป็นสากลของพื้นที่ทำงาน” นี้เอง ที่เป็นที่นิยมในช่วงปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น พื้นที่ทำงานแบบเปิดโล่ง, โคเวิร์กกิ้งสเปซ, การทำงานทางไกล, และความรู้สึกเป็นเจ้าเข้าเจ้าของให้กับคนทำงาน ดีไซน์ที่ถูกหลักสรีรศาสตร์, เทคโนโลยีอันทันสมัย และความยืดหยุ่น ต่างถูกปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรมแต่ละแห่ง
ด้วยเหตุนี้ หลายบริษัท ต่างก็หยุดที่จะเลียนแบบตัวเองในการพัฒนารูปแบบของพื้นที่การทำงาน โดยผนวกรูปแบบดั้งเดิมที่มีอยู่แล้วและปรับให้เข้ากับรูปแบบอันเป็นสากลของพื้นที่ทำงานและผลิตภัณฑ์ในแต่ละท้องถิ่น จนได้เป็นกระบวนการที่ให้ผลลัพธ์หลากหลาย ที่บริษัทจะปรับมาตรฐานองค์กรให้เข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งมีความเปิดกว้างต่อการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม
หลายปีที่ผ่านมานักจิตวิทยาสังคมชาวดัตช์ เจอร์ราด เฮนดริค ฮอปสเตดด์ (Gerard Hendrik Hofstede) ได้บัญญัติปัจจัยที่จะกำหนดการออกแบบพื้นที่ทำงาน ด้วยมิติทางวัฒนธรรมห้าประการ คือ ระยะทางของพลัง, ระบบปัจเจกนิยม กับ ชุมชนนิยม, ความเป็นชาย กับ ความเป็นหญิง, การหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอน และ การกำหนดเป้าหมายระยะสั้น กับ การกำหนดเป้าหมายระยะยาว ที่เป็นตัวกำหนดเงื่อนไขและนิยามหนทางที่แต่ละสังคมดำรงอยู่และรับรู้สภาพแวดล้อมเหล่านี้ ซึ่งวัฒนธรรมใดที่ให้ความสำคัญกับความเป็นปัจเจก และวัฒนธรรมใดเปิดรับความร่วมมือและความเปลี่ยนแปลง, วัฒนธรรมใดที่มีลำดับชั้น และการควบคุม, วัฒนธรรมใดที่มีความอดทนต่อการลดพื้นที่ทำงานและทลายเส้นแบ่งระหว่างอาชีพการงานกับชีวิตส่วนตัว หรืออะไรที่เป็นหนทางหลักในการทำงานในแต่ละยุคสมัย สิ่งเหล่านี้เป็นบางแง่มุมที่ต้องพิจารณาเมื่อต้องออกแบบพื้นที่ทำงานที่อยู่นอกกรอบของความคุ้นเคยของเรา
กระบวนการสร้างความเป็นสากล เป็นภารกิจของ ACTIU ในการสร้างทีมงานอันเฉพาะเจาะจงสำหรับตอบสนองพื้นที่ทางภูมิศาตร์ในแต่ละแห่ง ซึ่งประกอบด้วยคนท้องถิ่น ที่รู้ถึงอุปสงค์และความต้องการในวัฒธรรมของพวกเขา จากภายในสู่ภายนอก รวมถึงค่านิยมอันแตกต่างหลากหลายภายในประเทศของพวกเขาเหล่านั้น
ดังเช่นการทำตลาดการค้าในเยอรมัน หรือ ฝรั่งเศส ที่เป็นตลาดอันแข็งแรงของงานดีไซน์และการช็อปปิ้งออนไลน์ ซึ่งต้องการกลยุทธ์อันแตกต่างโดยสิ้นเชิงจากตลาดใน โปแลนด์ และ รัสเซีย ซึ่งในปัจจุบันกลายเป็นแบบอย่างของพื้นที่ทำงานยุคใหม่ที่ต้องประสบกับช่วงเวลาแห่งการเติบโตและนวัตกรรมอันสำคัญ
หรือในตลาดที่มีความเป็นแบบแผนกว่า อย่างตลาดแอฟริกัน ที่ยังไม่ค่อยตอบรับเทคโนโลยีเท่าไหร่นัก รวมถึงไม่ถนัดการทำการค้าแบบโครงการต่างๆ หากแต่ยังคงใช้รูปแบบและวิธีการการซื้อขายแบบดั้งเดิมอยู่ หรือตลาดในประเทศอาหรับเอมิเรสต์ ที่ยังไม่ยอมรับพื้นที่ทำงานแบบเปิดโล่งเท่าไหร่นัก
แต่ถึงแม้ในแต่ละพื้นที่จะมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันอย่างมาก แต่พวกเขาก็ยังมีความต้องการพื้นที่ร่วมกันอยู่ นั่นคือการสร้างสรรค์พื้นที่ทำงานอันน่าดึงดูดใจ ที่สนับสนุนให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดี และทำให้คนทำงาน รู้สึกเหมือนกับว่าพวกเขากำลังอยู่ที่บ้าน นั่นเอง
#WURKON #culturalbarriers #products #โลกาภิวัตน์ #globalisation #global #location ##culture #ผลิตภัณฑ์ #democraticdesign #เฟอร์นิเจอร์ยุโรป #ecodesign #officefurniture #officeswivelchairs #officedesks #officecabinets #officefurniture #workspaces #เฟอร์นิเจอร์สำนักงาน #quality #highquality #highqualityfurniture #ergonomic #europeanfurniture #europeanproduct #green #highend #premiumfurniture #premiumgrade #furnituredesign #officefurniture #internationaldesign #modern #openspace #slimdesign
สัมผัสแรงบันดาลใจจากความคิดสร้างสรรค์แห่งการออกแบบวิถีชีวิตการทำงานยุคใหม่ได้ที่ WURKON ผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบพื้นที่สำนักงานและพื้นที่สาธารณะสมัยใหม่ www.wurkon.com
สามารถติดตามข่าวสารทุกวันได้ที่ : www.facebook.com/WURKON
สอบถามข้อมูลได้ที่ Tel : 02-005-3550 Fax : 02-005-2557
Official Line : @wurkon (มี @ ด้วย) / Twitter : @wurkon
Follow Instagram : @wurkon