สำรวจงานสถาปัตยกรรมแบบโมเดิร์นนิสต์ของ เลอ คอร์บูซีแยร์ ในมหานครชานดิการ์ ผ่านภาพถ่ายของ Roberto Conte
15 กรกฏาคม 2563
ช่างภาพสถาปัตยกรรมชาวอิตาเลียน โรแบร์โต กองเต้ (Roberto Conte) เผยให้เห็นเหล่าบรรดาเพชรเม็ดงามที่ซ่อนอยู่ในโครงสร้างคอนกรีตในซีรีส์ภาพถ่ายของเขาที่สำรวจงานดีไซน์ของสถาปนิกระดับตำนานชาวสวิส/ฝรั่งเศส เลอ คอร์บูซีแยร์ (Le Corbusier) ในเมืองชานดิการ์ (หรือ จัณฑีครห์) ประเทศอินเดีย
High Court โดย Le Corbusier (1951-1957). ภาพถ่ายโดย Roberto Conte
High Court ออกแบบโดย Le Corbusier (1951-1957). ภาพถ่ายโดย Roberto Conte
Palace of Assembly ออกแบบโดย Le Corbusier (1951-1965). ภาพถ่ายโดย Roberto Conte
Gandhi Bhawan ออกแบบโดย Pierre Jeanneret (1962). ภาพถ่ายโดย Roberto Conte
Open Hand ออกแบบโดย Le Corbusier (1950-1965). ภาพถ่ายโดย Roberto Conte
Sukhna Boating Tower ออกแบบโดย Pierre Jeanneret (1960). ภาพถ่ายโดย Roberto Conte
Bandstand ออกแบบโดย Le Corbusier and Pierre Jeanneret (1960). ภาพถ่ายโดย Roberto Conte
Lake Club ออกแบบโดย Le Corbusier (1964). ภาพถ่ายโดย Roberto Conte
House Type 4-J ออกแบบโดย Pierre Jeanneret (1956). ภาพถ่ายโดย Roberto Conte
Chandigarh College of Architecture (CCA) ออกแบบโดย Le Corbusier และ Aditya Prakash (1961). ภาพถ่ายโดย Roberto Conte
Chandigarh College of Architecture (CCA) ออกแบบโดย Le Corbusier และ Aditya Prakash (1961). ภาพถ่ายโดย Roberto Conte
Panjab University administration offices ออกแบบโดย Pierre Jeanneret (1961). ภาพถ่ายโดย Roberto Conte
Panjab University Student Center ออกแบบโดย Bhanu P. Mathur (1975). ภาพถ่ายโดย Roberto Conte
Stadium ออกแบบโดย Jeet Malhotra (1960). ภาพถ่ายโดย Roberto Conte
Museum Auditorium ออกแบบโดย Le Corbusier (1968). ภาพถ่ายโดย Roberto Conte
Flats for the Members of Legislative Assembly ออกแบบโดย Pierre Jeanneret (1956-1966). ภาพถ่ายโดย Roberto Conte
Neelam Theatre and Cinema ออกแบบโดย Aditya Prakash (1961). ภาพถ่ายโดย Roberto Conte
Mixed-use block ออกแบบโดย Le Corbusier (1955). ภาพถ่ายโดย Roberto Conte
ภาพถ่ายเหล่านี้จับภาพโครงสร้างด้านหน้าอันอลังการของอาคารแบบโมเดิร์นนิสต์ในห้วงเวลาอันเงียบงัน แสดงให้เห็นสภาพของพวกมันผ่านกาลเวลาในช่วง 70 ปีที่ผ่านมา
“ก่อนหน้านี้ผมแค่รู้จักศูนย์การค้าดังๆ ในเมืองหลวง แต่หลังจากนั้นผมก็ต้องแปลกใจที่ได้เห็นว่ามีโครงสร้างอาคารที่น่าสนใจที่ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักอยู่อีกมาก” กองเต้ ผู้เดินทางถ่ายภาพสถาปัตยกรรมในอินเดียกล่าว
เมืองชานดิการ์ ถูกออกแบบขึ้นในปี 1950 ในฐานะเมืองหลวงแห่งใหม่ของรัฐปัญจาบ หลังอินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษและเกิดการแบ่งแยกดินแดนกับปากีสถาน ในครั้งนั้น เลอ คอร์บูซีแยร์ ถูกเชิญให้มาออกแบบเมืองมหานครแห่งนี้ โดยเขาใช้รูปแบบตารางและแพทเทิร์นของถนนสไตล์ยุโรป และอาคารคอนกรีต ซึ่งเป็นแนวทางที่กลั่นกรองจากแนวทางความคิดสร้างสรรค์ในตลอดชีวิตการทำงานของเขา
ทุกวันนี้ เมืองแห่งนี้ต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายสองประการ ทั้งในการรักษามรดกทางวัฒนธรรมแห่งยุคโมเดิร์นเอาไว้ และการปรับตัวเข้ากับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของประชากรที่ทวีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
ในขณะที่เลอ คอร์บูซีแยร์ เป็นสถาปนิกระดับซูเปอร์สตาร์ผู้อยู่เบื้องหลังโครงการออกแบบเมืองแห่งนี้ แต่อาคารส่วนใหญ่ก็เป็นผลพวงของการร่วมมือระหว่างทีมสถาปนิกและนักออกแบบชาวตะวันตกที่ถูกว่าจ้างมา ซึ่งในนั้นก็มีสถาปนิกระดับตำนานชาวสวิส ปิแยร์ เฌอเนอเรต์ (Pierre Jeanneret) ร่วมกับทีมสถาปนิกและนักวางผังเมืองชาวอินเดีย ซึ่งรวมถึงสถาปนิกคนสำคัญชาวอินเดีย เจ้าของรางวัล Pritzker อย่าง บัลกฤษณะ โดชี (Balkrishna Doshi) ผู้ผสมผสานสถาปัตยกรรมแบบโมเดิร์นเข้ากับสถาปัตยกรรมแบบประเพณีของอินเดียเข้าไว้ด้วยกัน อีกด้วย
เข้าไปดูผลงานอื่นๆ ของ โรแบร์โต กองเต้ ได้ในเว็บไซต์ https://www.robertoconte.net/
หรือในอินสตาแกรม ilcontephotography https://www.instagram.com/ilcontephotography/
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก https://bit.ly/2AXXFC5
#WURKON #architect ##achitecture #photography #robertoconte #lecorbusier #modernist #metropolis #chandigarh #indian #city #concrete #infrastructure #inspiration #แรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรม
สัมผัสแรงบันดาลใจแห่งความคิดสร้างสรรค์จากวิถีชีวิตการทำงานยุคใหม่ได้ที่ WURKON ผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบพื้นที่สำนักงานและพื้นที่สาธารณะสมัยใหม่
สามารถติดตามข่าวสาร และสอบถามข้อมูล ได้ที่
เว็บไซต์ : www.wurkon.com
Pinterest : https://pin.it/3jIF1Z8
Twitter : https://twitter.com/Wurkon
Instagram: www.instagram.com/Wurkon
Inbox Facebook : http://m.me/wurkon
Official Line : @wurkon หรือคลิก https://lin.ee/lXxX1gr
Tel : 02-005-3550, 097-157-8435, 097-161-8536