Research

Creativity Workflow สภาวะการทำงานที่ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ : 2. Focus สภาวะจดจ่อ

Creativity Workflow สภาวะการทำงานที่ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ : 2. Focus สภาวะจดจ่อ

29 สิงหาคม 2559

ในตอนที่แล้วเราได้กล่าวถึงสภาวะการทำงานที่ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ หรือ Creativity Workflow ในขั้นตอนแรกอย่าง สภาวะกระตุ้น (Stimulate) จบไปแล้ว ในตอนนี้เราจะนำเสนอขั้นตอนต่อไปซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้กัน นั่นก็คือ สภาวะจดจ่อ (Focus) สภาวะนี้มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับการก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานได้อย่างไร เรามาทำความรู้จักกับมันกัน

Focus "สภาวะจดจ่อ" คือสภาวะการทำงานที่ต้องการการครุ่นคิด ไตร่ตรอง มุ่งความสนใจกับการทำงานหรือการแก้ปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะ เป็นสภาวะที่ควรหลีกเลี่ยงจากการถูกรบกวนหรือขัดจังหวะ สภาวะนี้จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ต้องมีการวางแผนงานที่มีความซับซ้อนเพียงลำพัง เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานและการจัดการกับเนื้องานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

ในแต่ละวันของการทำงาน หรือแม้แต่ในชีวิตประจำวัน เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องรับมือกับปัญหาต่างๆ ที่ผ่านเข้ามามากมาย สิ่งหนึ่งที่จะเอื้ออำนวยให้การแก้ไขปัญหาเหล่านั้นลุล่วงไปได้ด้วยดีนั้น ล้วนเริ่มต้นจากการมีสมาธิ การที่เราได้คิด ได้จดจ่อกับการแก้ปัญหา ดังนั้นหากเรามีพื้นที่เพื่อตอบสนองการทำงานที่ก่อให้เกิดสภาวะจดจ่อแล้ว ไม่ว่าปัญหาจะมาในรูปแบบใด เราก็พร้อมที่จะรับมือกับมันและวางแผนแก้ไขมันได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

ยกตัวอย่างเช่น Arup บริษัทออกแบบวิศวกรรมที่มีผลงานระดับโลกอย่าง ซิดนีย์โอเปราเฮาส์ (Sydney Opera House) หนึ่งในสิ่งก่อสร้างมหัศจรรย์แห่งโลกยุคปัจจุบันในประเทศออสเตรเลีย ได้สร้างสำนักงานใหญ่ในเมืองแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ โดยมีแนวคิดในการออกแบบพื้นที่การทำงานให้เหมาะกับการทำงานในสภาวะจดจ่อ ที่เปิดโอกาสในพนักงานได้ไตร่ตรอง ครุ่นคิด และมุ่งความสนใจกับงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อกระตุ้นแนวคิดใหม่ๆ ที่จะนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมในที่สุด ด้วยการออกแบบพื้นที่ส่วนหนึ่งให้เป็นห้องส่วนตัวขนาดเล็กสำหรับใช้งานส่วนบุคคลที่มีชื่อว่า "Focus Room" ที่มีลักษณะเป็นห้องที่ปิดกั้นเสียงหรือการรบกวนจากบุคคลภายนอก ลดการสื่อสารหรือปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เพราะสำหรับการทำงานที่ต้องการความเงียบและสมาธิในการคิด เรียบเรียง หรือแม้แต่การคุยโทรศัพท์สายสำคัญๆ แต่ก็ยังไม่ทิ้งความผ่อนคลายด้วยกำแพงสีเหลืองสดใสและงานศิลปะตกแต่งกำแพงเก๋ๆ ที่ช่วยลดความอึดอัดของพื้นที่เล็กๆ ได้

หรือแม้แต่ Onepointzero และ ASM Architects สองบริษัทสถาปนิกชั้นนำ ที่ร่วมมือกันออกแบบสำนักงานใหญ่ของร้านอาหารเมดิเตอร์เรเนียนที่มีสาขาทั่วโลกอย่าง Nando โดยสร้างขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่สำนักงานหลักและศูนย์ฝึกพนักงานไปในตัว จึงมีการจัดสรรพื้นที่ภายในให้คุ้มค่าที่สุด เพื่อรองรับการใช้งานของพนักงานเป็นจำนวนมาก โดยออกแบบพื้นที่ทำงานด้วยการใช้แผงกั้นด้านหน้า เพื่อเป็นการแบ่งพื้นที่และบังสายตาจากคนที่นั่งตรงข้ามระหว่างการทำงาน เพิ่มลูกเล่นด้วยการใช้ลวดลายแพทเทิร์นเก๋ไก๋ เพื่อแต่งเติมบรรยากาศของพื้นที่ทำงานให้ผ่อนคลายยิ่งขึ้น ถึงแม้จะเป็นรูปแบบการจัดสรรพื้นที่ทำงานอย่างง่ายๆ ไม่หวือหวาหรือแปลกใหม่นัก แต่ก็สามารถสร้างพื้นที่ส่วนตัวที่ก่อให้เกิดสภาวะจดจ่อ อันจะเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการงานได้ไม่ยาก

ดังตัวอย่างที่ยกมาจะเห็นได้ว่า แทบทุกสำนักงานต่างก็ต้องการพื้นที่ในการทำงานที่จะก่อให้เกิดสภาวะจดจ่อ หรือ Focus เพราะการทำงานที่ดีนั้น ไม่เพียงแต่ต้องการแรงกระตุ้นที่ดี แต่การครุ่นคิด ไตร่ตรอง หรือมุ่งความสนใจจดจ่อไปกับงานก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน

และเราจะมาพูดถึงวิธีการสร้างพื้นที่เพื่อตอบโจทย์ภาวะจดจ่ออย่างง่ายๆ ได้ด้วยวิธีการ "กั้น" (separate) พื้นที่การทำงานของคุณ มาดูกันว่าเราจะใช้วิธีการ "กั้น" แบบไหนได้บ้าง

1."กั้นสายตา" (separate site) เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุด เพราะจะทำให้เราไม่วอกแวกหรือเสียสมาธิจากการจดจ่อกับงานที่อยู่ตรงหน้าจากสิ่งที่เคลื่อนไหวรอบๆ ข้าง หรือแม้แต่การจัดโต๊ะทำงานให้โล่งสะอาด ปราศจากสิ่งรบกวนสายตา ก็เป็นวิธีที่ทำให้จดจ่อกับงานอยู่ข้างหน้าได้ในระดับหนึ่ง หากแต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น เสียง, แสง หรือ บรรยากาศในพื้นที่ทำงานอยู่

2. "กั้นเสียง" (separate sound) เพื่อให้เกิดภาวะจดจ่อที่มีประสิทธิภาพ โดยการแยกพื้นที่ทำงานให้ห่างจากพื้นที่ที่มีคนพลุกพล่านหรือมีคนเดินผ่านไปมา ที่จะทำให้เกิดเสียงรบกวนให้เราเสียสมาธิได้ แต่หากไม่อยากให้เงียบเกินไปจนอาจทำให้เกิดความง่วงชวนหลับ ก็อาจแก้ไขด้วยการเปิดเพลงสบายๆ อย่างเพลงบรรเลงคลอไประหว่างทำงาน ก็สามารถกระตุ้นให้เรามีความตื่นตัวในการทำงานได้

3. "กั้นพื้นที่" (separate space) เป็นอีกวิธีที่ก่อให้เกิดสภาวะจดจ่อที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือการสร้างพื้นที่สำหรับการจดจ่อโดยเฉพาะ เพื่อก่อให้เกิดความรู้สึกแบ่งแยกจากพื้นที่ภายนอกชัดเจน เริ่มตั้งแต่การใช้ ฉากกั้น ไปจนถึงการออกแบบห้องปิดโดยเฉพาะ ที่ให้ใช้งานได้เพียง 1-2 คน ก็สามารถสร้างพื้นที่ส่วนตัวอันจะเอื้ออำนวยให้เกิดภาวะจดจ่อ (Focus) ได้เป็นอย่างดี

จะเห็นได้ว่าเราสามารถสร้างพื้นที่ "Focus" ได้ง่ายๆ ในพื้นที่ทำงาน เพราะในการทำงานที่ดีนั้น สมาธิในการทำงานจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากขาดความจดจ่อ มุ่งมั่น และตั้งใจในการทำงาน ซึ่งเป็นแรงผลักดันที่ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์หรือการวางแผนงานที่มีประสิทธิภาพและสมบูรณ์แบบ

Focus จากการวางแผน สู่การพัฒนาสมองที่คุณคาดไม่ถึง

กับสภาวะการทำงานแบบ "Focus" หรือ "สภาวะจดจ่อ ที่ต้องอาศัยการครุ่นคิด ไตร่ตรอง มุ่งความสนใจกับงาน ซึ่งจากตอนที่ผ่านๆ มา หลายคนอาจเข้าใจว่า สภาวะจดจ่อ นั้นก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีแค่ในการทำงานเท่านั้น แต่แท้ที่จริงแล้วนอกเหนือไปจากการทำงานแล้ว ตัวคนทำงานเองก็จะได้รับผลดีจากสภาวะทำงานนี้ด้วยเช่นกัน เรามาดูกันว่า ผลดีของการทำงานในสภาวะจดจ่อนั้นมีอะไรบ้าง

1. "สมาธิแข็งแรง สมองเปลี่ยนแปลง"

การจดจ่อมุ่งมั่นกับการทำงานนั้น นับเป็นการสร้างสมาธิที่ดีอย่างหนึ่ง ซึ่งผลดีของมันก็คือ ทำให้สมองเกิดการทำงานอย่างเป็นลำดับขั้นตอน และถ้าเราทำให้เกิดสมาธิเป็นประจำแล้ว สมองก็จะสั่งการให้เราทำงานได้อย่างรวดเร็วขึ้น เป็นการเปลี่ยนระบบการทำงานของสมองระยะยาว

2. "เกิดการบริหารจัดการอย่างรวดเร็วและเป็นแบบแผน"

การจดจ่อมุ่งมั่นกับการทำงานนั้น ทำให้เราสามารถเรียบเรียงการทำงานได้อย่างเป็นระบบแบบแผน รู้ลำดับความสำคัญและขั้นตอนในการบริหารจัดการ ทำให้เกิดความรวดเร็ว ไม่เกิดความสับสนใจการทำงาน และถึงที่สุดก็สามารถบริหารจัดการงานหลายๆ อย่างได้ในเวลาเดียวกัน

3. "เกิดการเรียนรู้และเข้าใจอย่างลึกซึ้ง"

นอกจากการที่เราได้จดจ่อ ครุ่นคิด ไตร่ตรอง และมีสมาธิกับงานจะทำให้เราเข้าใจในเนื้องานได้แล้ว ยังช่วยให้เราเกิดการตกตะกอนทางด้านความคิดได้อย่างลึกซึ้งเช่นกัน จนทำให้เรามีความสามารถในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการงาน หรือการใช้ชีวิต จะเห็นได้ว่า การทำงานในสภาวะจดจ่อนั้น ไม่เพียงแต่ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน แต่ทำให้เกิดการพัฒนาการทำงานของสมอง ทำให้เกิดการเรียนรู้ ตกตะกอน เกิดประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาได้ในอนาคตอย่างรวดเร็ว และเป็นระบบ

ขอบคุณภาพจาก http://goo.gl/PjuR8D

ขอบคุณภาพจาก http://goo.gl/M8NEx8, http://goo.gl/e1QRJJ ,  http://goo.gl/JDz3Ns

ข้อมูลจาก : Wurkon ร่วมมือกับ "Baramizi Lab" ศูนย์วิจัยเทรนด์และการออกแบบแห่งประเทศไทย ในหัวข้อ เทรนด์การออกแบบผังออฟฟิศยุคใหม่ (Office Space Design Trend)

#OfficeSpaceDesignTrend #CreativityWorkFlow #กระบวนการทำงานสร้างสรรค์#Stimulate #ภาวะกระตุ้นปลุกเร้า #แรงบันดาลใจ #ความคิดสร้างสรรค์ #การออกแบบออฟฟิศ#สำนักงาน #กระบวนการทำงานยุคใหม่ #เฟอร์นิเจอร์สำนักงาน #WURKON

สัมผัสกับสภาวะการทำงานที่ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบวิถีชีวิตการทำงานยุคใหม่ได้ที่ WURKON ผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบพื้นที่สำนักงานและพื้นที่สาธารณะสมัยใหม่

สนใจดูข้อมูลเทรนด์การออกแบบผังออฟฟิศยุคใหม่ได้ที่ : www.wurkon.com

สามารถติดตามข่าวสารทุกวันได้ที่ : www.facebook.com/WURKON

Tel : 02-005-3550 Fax : 02-005-2557

สำนักงานใหญ่ของบริษัทออกแบบวิศวกรรม Arup ในเมืองแมนเชสเตอร์

สำนักงานใหญ่ของ Nando ที่ออกแบบโดยบริษัทสถาปนิก Onepointzero และ ASM Architects

สำนักงานใหญ่ของบริษัท NTI ในไลเดน เนเธอร์แลนด์ ที่ออกแบบโดยบริษัทสถาปนิก Liong Lie

สำนักงานของบริษัทเทคโนโลยีที่ไม่เปิดเผยนามใน พาโล อัลโต แคลิฟอร์เนีย ออกแบบโดยบริษัทสถาปนิก Genstler ภาพโดย Jasper Sanidad

Related Stories

Showroom
Address

71/15 Soi Pattanavate 12, Sukhumvit 71 Road, Prakanong-Nua, Wattana, Bangkok 10110, Thailand

Call Us
  • (66) 02-005-3550
  • (66) 096-391-9462
Fax

(66) 02-005-2557

Opening Hours

Mon - Fri: 08:30 - 17:30